เมนู

4. สามุคิยสูตร


องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4


[194] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ อยู่ที่นิคมของพวกโกฬิยะ ชื่อ
สาปุคะ ในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้นแล โกฬิยบุตรชาวนิคมสาปุคะมาก
ด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะโกฬิยบุตรชาวสาปุคนิคมว่า ดูก่อนพยัคฆ-
ปัชชะทั้งหลาย องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4 ประการนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก
และความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน องค์ 4 ประการเป็นไฉน คือองค์เป็นที่ตั้งแห่ง
ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือ ศีล 1 จิต 1 ทิฏฐิ 1 วิมุตติ 1 ดูก่อน
พยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ คือ
ศีลเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า สีลปาริสุทธิ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ
ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะในสีลปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญา
ประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้น ๆ นี้เรียกว่าองค์เป็น
ที่ตั้งแห่งความเพียร คือ สีลปาริสุทธิ.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ
จิตตปาริสุทธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

...ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌานอยู่ นี้เรียกว่าจิตตปาริสุทธิ ความ.
พอใจ ...สติและสัมปชัญญะในจิตตปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังจิตตปาริสุทธิ
เห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประดับประคองจิตต-
ปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้น ๆ นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร
คือ จิตตปาริสุทธิ.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ
ทิฏฐิปาริสุทธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า
ทิฏฐิปาริสุทธิ ความพอใจ... สติและสัมปชัญญะในทิฏฐิปาริสุทธินั้นว่า เรา
จักยังทิฏฐิปาริสุทธิ เห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญา
ประดับประคองทิฏฐิปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้น ๆ นี้เรียกว่าองค์เป็น
ที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิปาริสุทธิ.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ
วิมุตติปาริสุทธิเป็นไฉน อริยสาวกนี้แล เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เป็นที่ตั้งแห่ง
ความเพียร คือ สีลปาริลุทธิ...จิตตปาริสุทธิ...ทิฏฐิปาริสุทธิแล้ว ย่อม
คลายจิตในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย่อมเปลื้องในธรรมที่ควรเปลื้อง
ครั้นแล้วย่อมถูกต้องสัมมาวิมุตติ นี้เรียกว่า วิมุตติปาริสุทธิ ความพอใจ...
สติและสัมปชัญญะในวิมุตติปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังวิมุตติปาริสุทธิเห็นปานนี้
อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประดับประคองวิมุตติปาริสุทธิอัน
บริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้น ๆ นี้เรียกว่า องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ
วิมุตติปาริสุทธิ.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะทั้งหลาย องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความ
บริสุทธิ์ 4 ประการนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระ-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความหมดจดของ
สัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและการคร่ำครวญ เพื่อความดับสูญแห่ง
ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน.
จบสามุคิยสูตรที่ 4

อรรถกถาสามุคิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสามุคิยสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สาปุคิยา ได้แก่ กุลบุตรชาวนิคมสาปุคะ. บทว่า พยคฺฆปชฺช
ความว่า พระอานนท์ เมื่อเรียกโกฬิยบุตรเหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้ โกฬนคร
มีสองชื่อ คือ นครโกฬะ เพราะเขานำไม้กระเบามาสร้าง 1 ชื่อว่า พยัคฆปัช-
ชะ เพราะเขาสร้างในทางเสือผ่าน 1. บรรพบุรุษของชาวโกฬิยะเหล่านั้น อาศัย
อยู่ในพยัคฆปัชชนครนั้น เพราะฉะนั้น ท่านเรียกว่า พยัคฆปัชชะ เพราะ
อาศัยอยู่ในพยัคฆปัชชนคร. ด้วยเหตุนั้น พระอานนท์เมื่อเรียกชาวโกฬิยะ
เหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า ปาริสุทฺธิปธานิยงฺคานิ ได้แก่องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร
เพื่อความบริสุทธิ์ อธิบายว่า องค์คือส่วนแห่งความเพียรที่ควรตั้งไว้. บทว่า
สีลปาริสุทฺธิปธานิยงฺคํ นี้เป็นชื่อของความเพียรอันยังศีลให้บริสุทธิ์. จริงอยู่
ปาริสุทฺธิปธานิยงฺคํ นี้เป็นองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อให้ความบริสุทธิ์
แห่งศีลเต็มบริบูรณ์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สีลปาริสุทธิปธานิยังคะ. แม้ใน
บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน .